สำหรับนักออกแบบและนักพัฒนา User Research คือ การค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็น ความต้องการหรือ ปัญหาต่างๆ ของผู้ใช้ เพื่อที่จะเข้าใจผู้ใช้ในบริบทต่างๆ รวมถึงข้อมูลเชิงลึก (Insight) ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้นั่นเอง การทำ User Research มักจะเป็นขั้นตอนแรกของการคิดหรือออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ และปรับปรุงแก้ไขประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ที่เป็นอยู่ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่สร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับผู้ใช้มากขึ้น

- แบบสำรวจและแบบสอบถาม
แบบสำรวจช่วยให้นักออกแบบสามารถรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มผู้ใช้จำนวนมาก คำถามที่มีโครงสร้างดีสามารถเผยให้เห็นข้อมูลประชากร ความชอบ และปัญหาทั่วไปของผู้ใช้

- การสัมภาษณ์ผู้ใช้
การสัมภาษณ์ผู้ใช้เป็นการพูดคุยโดยตรงกับผู้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับประสบการณ์ ความต้องการ และปัญหาของพวกเขา การสัมภาษณ์เหล่านี้ช่วยให้นักออกแบบเข้าใจความคาดหวังและแรงจูงใจของผู้ใช้

การตั้งคำถาเพื่อการสำรวจ การกำหนดเป้าหมาย ก็เพื่อให้เราเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการค้นหาข้อมูลที่เราต้องการ ว่าเราต้องอะไรบ้าง โดยอาจจะใช้คำถามเหล่านี้ในการทำความเข้าใจว่าเป้าหมายของการทำ User Research ของเราคืออะไร

โดยในแต่ละวิธีการ จะมีการใช้เครื่องมือหรือแบบทดสอบต่างๆ ในการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ การใช้งานผลิตภัณฑ์ ความพึงพอใจ ความยาก-ง่ายในการใช้งาน รวมทั้งปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น Competitive Analysis การวิเคราะห์คู่แข่ง คือ การวิเคราะห์เพื่อใช้ในการวางแผนและสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจ ผ่านการพิจารณาธุรกิจคู่แข่ง อาทิ กลยุทธ์ด้านการตลาดที่ใช้, การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ ฯลฯ
- ข้อดี ทำให้เห็นข้อมูลคู่แข่งเพื่อสร้างจุดแตกต่างในการแข่งขัน หรือสร้างความได้เปรียบมากขึ้น
- ข้อเสีย ต้องมีการปรับปรุงการวิเคราะห์อยู่เสมอ เพราะคู่แข่งก็พัฒนาเสมอเช่นกัน

วันนี้เรามีเคล็ดลับ UX Laws มาฝากกัน การนำกฎเหล่านี้ไปใช้จะช่วยให้คุณออกแบบ UX ที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้และใช้งานได้อย่างราบรื่น
กฎของ Hick – ลดตัวเลือกที่มากเกินไป ตัวเลือกที่มากขึ้นทำให้ผู้ใช้ตัดสินใจช้าลง
- ลดภาระทางความคิดโดยการจำกัดตัวเลือกที่ไม่จำเป็น
- ใช้ progressive disclosure (แสดงข้อมูลเพิ่มเติมเฉพาะเมื่อจำเป็น)
กฎของ Fitts – ทำให้ปุ่มกดง่าย ระยะเวลาที่ใช้ในการกดปุ่มขึ้นอยู่กับขนาดและระยะทางของปุ่มนั้น
- ทำให้ปุ่มมีขนาดใหญ่พอสำหรับการแตะหรือคลิกได้ง่าย
- วางปุ่มที่สำคัญ (เช่น “ซื้อเลย”) ในตำแหน่งที่เข้าถึงได้สะดวก
กฎของ Miller – แบ่งข้อมูลเป็นส่วนเล็กๆ ผู้ใช้สามารถจดจำข้อมูลได้ประมาณ 7 (±2) รายการในหน่วยความจำระยะสั้น
- แบ่งข้อมูลที่ซับซ้อนออกเป็นส่วนเล็ก ๆ (เช่น การแบ่งแบบฟอร์มเป็นขั้นตอน)
- ใช้การจัดกลุ่มข้อมูลเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
กฎของ Peak-End (Peak-End Rule) ผู้ใช้จะจดจำประสบการณ์ตามช่วงที่เข้มข้นที่สุด (peak) และช่วงสุดท้าย (end) มากกว่าการประเมินทั้งประสบการณ์โดยรวม
- ออกแบบ ช่วงสำคัญ ให้เป็นประสบการณ์ที่ดี เช่น การสมัครใช้งานที่ราบรื่น หรือเอฟเฟกต์พิเศษในช่วงที่ผู้ใช้ประสบความสำเร็จ (เช่น ได้รางวัล, ซื้อสำเร็จ)
- ทำให้ช่วงสุดท้ายของกระบวนการเป็นไปในทางที่ดี เช่น หน้าขอบคุณหลังจากซื้อสินค้า หรือข้อความแจ้งเตือนว่า “สำเร็จแล้ว!”
กฎของ Jakob – ผู้ใช้ชอบสิ่งที่คุ้นเคย ผู้ใช้คาดหวังให้เว็บไซต์หรือแอปทำงานคล้ายกับสิ่งที่พวกเขาเคยใช้มาก่อน
- ใช้รูปแบบ UI ที่เป็นมาตรฐาน (เช่น ตะกร้าสินค้าในเว็บไซต์ e-commerce)
- ทำตามแนวทางของแต่ละแพลตฟอร์ม (iOS, Android, เว็บไซต์)
ทำไม User Research ถึงสำคัญ?
- ช่วยให้เข้าใจผู้ใช้จริง – รู้ว่าใครคือกลุ่มเป้าหมาย ต้องการอะไร และพบปัญหาอะไร
- ลดความเสี่ยงในการออกแบบผิดพลาด – ป้องกันการออกแบบที่ไม่ตอบโจทย์
- เพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้ – ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานง่ายขึ้น
- สนับสนุนการตัดสินใจด้วยข้อมูลจริง – ไม่ใช่การคาดเดา แต่ใช้ข้อมูลที่เก็บมาจริง ๆ